แนวทางการตรวจสุขภาพสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ
ในการตรวจสุขภาพสำหรับการทำงานในที่อับอากาศนั้น สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้ออกแนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2557
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แพทย์ที่ตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศในประเทศไทย ได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจประเมินสุขภาพของคนทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ที่มา แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2557 , สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
ใครเป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์สำหรับการทำงานในที่อับอากาศ
ผู้ออกใบรับรองแพทย์สำหรับการทำงานในที่อับอากาศ
จะต้องเป็นแพทย์ โดย “แพทย์” ในที่นี้ หมายถึง
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
ระยะเวลาของการรับรองสุขภาพ หรือ ใบรับรองแพทย์
ระยะเวลาของการรับรองสุขภาพ แนะนำให้คนทำงานในที่อับอากาศเข้ารับการตรวจสุขภาพทุก 1 ปี เป็นอย่างน้อย
แต่ในกรณีที่แพทย์เห็นว่าคนทำงานนั้นมีความเสี่ยงสูง อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลงได้เมื่อเวลาผ่านไป อาจแนะนำให้คนทำงานนั้นมาตรวจประเมินสุขภาพถี่บ่อยขึ้นเพื่อความปลอดภัยต่อตัวคนทำงานผู้นั้นเองก็ได้
ขั้นตอนการตรวจสุขภาพ
ในการประเมินสุขภาพ แพทย์จะสอบถามข้อมูลสุขภาพ ด้วยคำถามคัดกรองอย่างน้อย 22 ข้อ ได้แก่
(1.) เคยเป็นการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ
(2.) เคยเป็นโรคลิ้นหรือผนังหัวใจตีบหรือรั่ว
(3.) เคยเป็นโรคหัวใจโต
(4.) เคยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(5.) เคยเป็นโรคหัวใจชนิดอื่นๆ
(6.) เคยเป็นโรคหอบหืด
(7.) เคยเป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง
(8.) เคยเป็นโรคปอดชนิดอื่นๆ
(9.) เคยเป็นโรคลมชักและอาการชัก
(10.) เคยเป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
(11.) เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต
(12.) เคยเป็นโรคระบบประสาทชนิดอื่นๆ
(13.) เคยเป็นโรคปวดข้อหรือข้ออักเสบเรื้อรัง
(14.) เคยเป็นโรคหรือความผิดปกติของกระดูกและข้อ
(15.) เคยเป็นโรคกลัวที่แคบ
(16.) เคยเป็นโรคจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
(17.) เคยเป็นโรคเบาหวาน
(18.) เคยเป็นโรคหรืออาการเลือดออกง่าย
(19.) เคยเป็นโรคไส้เลื่อน
(20.) เฉพาะผู้หญิง – ตั้งครรภ์ หรือไม่
(21.) เฉพาะผู้หญิง -เคยเป็นประจำเดือนครั้งสุดท้าย
(22.) เคยเป็นการเจ็บป่วยเป็นโรคอื่นๆ หรือประวัติทางสุขภาพที่สำคัญอื่น
นอกจากนี้ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ และทำการสอบถามข้อมูลลักษณะการทำงานเมื่อเห็นว่าจำเป็นด้วย
หลังจากสอบถามข้อมูลสุขภาพและตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจพิเศษเพื่อดูสมรรถภาพร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจว่ามีความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศหรือไม่ โดยรายการตรวจพิเศษและเกณฑ์การพิจารณาเป็นดังนี้